วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ลายผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์

ผ้าโฮล

          ผ้าโฮล เป็นลวดลายต้นแบบดั้งเดิมของชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมรก็ว่าได้ มีทั้งผ้าโฮลที่เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง(ซัมป็วดโฮล) ซึ่งเป็นผ้าลายมัดหมี่ทางขวางสลับกับลายริ้วเฉียง และผ้าโฮลสำหรับผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์) ซึ่งจะคล้ายผ้าโฮลของผู้หญิงแต่ไม่มีลายริ้วเฉียงคั่น


 ผ้าละเบิก         

          ผ้าละเบิก เป็นผ้านุ่งพื้นเมืองประเภทยกดอกลายตารางสี่เหลี่ยมที่ใช้ไหมเส้นพุ่งและเส้นยืนสีเดียวกัน






ผ้าสมอ

          ผ้าสมอ เป็นผ้าลายตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆประกอบด้วยสีดำ เหลืองทอง เขียวขี้ม้า และแดงเข้ม  ผ้านุ่งลายนี้ทอโดยไม่มัดหมี่  ส่วนใหญ่คนสูงอายุนิยมนุ่งอยู่กับบ้าน


  ผ้าอัมปรม       

          ผ้าอัมปรม  เป็นผ้าลายตารางสี่เหลี่ยม มีการมัดย้อมเส้นไหมให้เป็นจุดประสีขาวเด่นจากพื้นสีแดงในตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ โดยมัดย้อมทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง

ผ้าอันลุยซีม         

          ผ้าอันลุยซีม เป็นผ้านุ่งมีลายตามขวางบนพื้นสีต่าง ๆ   เช่น สีเหลืองทอง สีเขียว สีแดง และขาว เป็นต้น แต่บางผืนอาจใช้สีม่วงแทนสีขาว ผ้านุ่งลายนี้ไหมเส้นพุ่งจะใช้ควบสองสี

วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

โครงกระดูกช้าง

ช้าง" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับสัตว์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ช้าง (แก้ความกำกวม)
AD-thai.svg
บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง


โครงกระดูกช้างแอฟริกา
ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล[1] ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน[2] ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี[3] ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี ค.ศ. 1956 ซึ่งมีน้ำหนักถึง 11,000 กิโลกรัม[4] ความสูงวัดถึงไหล่ 2.96 เมตร สูงกว่าช้างแอฟริกาเพศผู้ทั่วไปถึงหนึ่งเมตร[5] ส่วนช้างที่มีขนาดเล็กที่สุดนั้น มีขนาดประมาณเท่ากับลูกวัวหรือหมูตัวใหญ่ ๆ เป็นสปีชีส์ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งเคยอาศัยอยู่บนดาวอังคารเกาะครีตระหว่างสมัยไพลสโตซีน[6] จากการสังเกตการณ์ ช้างเพศผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นไม่มีนักล่าตามธรรมชาติ[7] ถึงแม้ว่าสิงโตจะล่าลูกช้างหรือช้างที่อ่อนแอบ้าง[8][9] อย่างไรก็ตาม ช้างถูกคุกคามโดยการบุกรุกที่อยู่อาศัยของมนุษย์และการล่า

ช้างเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาในวัฒนธรรมเอเชียและมีกิตติศัพท์ว่ามีความจำและความฉลาดที่ดี โดยระดับสติปัญญาของมันนั้นคาดกันว่าจะเท่ากับของโลมา[10][11][12][13] หรือไพรเมต[14][15] เลยทีเดียว อริสโตเติล เคยกล่าวไว้ว่า ช้างเป็น "สัตว์ซึ่งเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงทั้งในด้านไหวพริบและจิตใจ"[16]

อ่างลำพอก

อ่างลำพอก

อ่างเก็บน้ำลำพอก


อ่างลำพอกเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคสำหรับคนอำเภอศีขรภูมิ
ซึ่งลำพอกเป็นชื่อที่มาจากลำน้ำ

ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำพอกกำลังถูกพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์